ดิวาลี หมายถึง สารธารแห่งแสงสว่าง ในช่วงฤดูกาลของการจัดงานเทศกาลดิวาลี ตามประเพณีมีการจุดไฟดิยา แสงสว่างจากเปลวไฟจะถูกส่องสว่างสไวไปทั่วเมืองอินเดีย นับเป็นเทศกาลสำคัญ ชาวฮินดู ซิกข์ และเชนนับล้านทั่วโลกจะร่วมกันเฉลิมฉลองในเทศกาลดิวาลีเป็นเวลา 5 วัน และยังถูกจัดให้เป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากเป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ตามปฏิทินของไทยจะอยู่ในช่วงปลายเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน
เทศกาลดิวาลี แสงสว่างแห่งชัยชนะ
ตำนานประวัติศาสตร์กล่าวว่า ชาวฮินดูเฉลิมฉลองการกลับมาของพระรามและนางสีดาหลังจากถูกเนรเทศ และยังเฉลิมฉลองให้กับพระแม่ทุรคาที่เอาชนะปีศาจ Mahisha ด้วย แต่ก็ยังมีตำนานที่ถูกกล่าวขานเล่าต่อกันมามากที่สุดเป็นตำนานของพระราม ร่างอวตารของพระวิษณุ ที่สามารถปราบ นนทก หรือ ทศกัณฑ์ในบันทึกรามายนะ เอาชนะได้สำเร็จ
สิ่งสำคัญในช่วงเทศกาลที่ขาดไม่ได้เลยคือ การจุดไฟดิยา แสงสว่าง เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของความดีเหนือความชั่วและความสว่างเหนือความมืด บ้าน ร้านค้า ถนน สวนสาธารณะ จะถูกประดับไปด้วยโคมไฟอย่างสวยงาม และยังมีการแจกจ่ายขนมอินเดียอีกด้วย
ช่วงเวลา 5 วัน ค่ำคืนแห่งความสุข
วันที่หนึ่ง: ธันเตรัส (Dhantaras) วันแห่งการทำความสะอาด ชาวอินเดียจะทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ในวันนี้และเป็นวันจับจ่ายซื้อทองหรือเครื่องใช้ในครัวเพื่อช่วยนำโชคลาภมาให้ ผู้ชายจะช่วยกันซ่อมแซม ตกแต่งหลังคา กำแพง วัดวาอาราม ส่วนผู้หญิงและเด็กจะช่วยกันตกแต่งพื้นบ้านเป็นรูปต่างๆด้วยข้าว ทราย กลีบดอกไม้สวยๆ
เชื่อว่า บ้านไหนยิ่งสะอาดสวยงาม พระแม่ลักษมีจะเสด็จมาบ้านที่สะอาดสวยงามที่สุดก่อน และในวันนี้ยังมีการจัดเตรียมขนมอินเดียเพื่อถวายพระแม่ลักษมีด้วย (ขนมลาดู โมทกะ สามารถถวายพระแม่ลักษมีได้)
วันที่สอง: วัน นะระกะ ฉะตุรทัสหิ (Naraka Chaturdashi) วันแห่งการนำทางสู่สรวงสวรรค์ ชาวอินเดียจะร่วมกันสวดมนต์ให้กับดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
วันที่สาม: อามาสวัสยะ หรือวันลักษมีปูชานะ เป็นวันหลักของเทศกาลดิวาลี วันที่มืดที่สุดในปฏิทินอินเดีย เป็นวันที่พระแม่ลักษณมีเดินทางมายังโลกเพื่อมอบคำอวยพร แม้จะเป็นวันที่มืดมิดที่สุด แต่ก็สว่างสไวเปี่ยมไปด้วยความสุขที่สุด สมาชิกในครอบครัวจะกลับมารวมตัวกันและแต่งกายให้งดงาม พร้อมจุดโคมไฟรเพื่อบูชาพระลักษมี แสงไฟจำนวนมหาศาลสว่างไปทั่วทั้งเมือง บางบ้านอาจมีการจุดพลุเพื่อทำพิธีสักการะพระแม่ลักษมีด้วย
วันที่สี่: วัน พะลิ ประติปะทา (Bali Pratipada) เป็นวันแรกของปีใหม่เมื่อเพื่อนและญาติมาเยี่ยมพร้อมของขวัญและความปรารถนาดีสำหรับฤดูกาล
วันที่ห้า: วัน ไภ ดุช (Bhai Dooj) เดินทางมาถึงวันสุดท้ายของเทศกาลดิวาลี วันของการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง พี่น้องไปเยี่ยมพี่สาวที่แต่งงานแล้ว ซึ่งต้อนรับพวกเขาด้วยความรักและมื้ออาหารแสนอร่อย เป็นวันจบเทศกาลดิวาลีที่แสนสุข
เทศกาลดิวาลีปีนี้ วันหลักตรงกับวันที่ 24 ตุลาคม 2565 ที่เมืองไทยมีการจัดงานวันที่ 21-23 ตุลาคมนี้ ณ บริเวณย่านลิตเติ้ลอินเดีย ถนนพาหุรัด-คลองโอ่งอ่าง-สะพานเหล็ก พบกับกิจกรรมต่าง ๆ โดยจะมีพิธีเปิดงานเทศกาลดิวาลี ประจำปี 2565 ในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม2565 เวลา 17.00 – 19.00 น. อย่าลืมแวะไปชมความงดงาม สักการะองค์พระพิฆเนศและพระแม่ลักษมีกันนะคะ
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่